สื่อเกาหลีใต้รายงาน Do Kwon เจ้าของเหรียญ LUNA Coin เลี่ยงภาษี อาจถูกปรับ 1 แสนล้านวอน หรือราว 78.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้านซีอีโอหนุ่มอาจเลิกกิจการในเกาหลีใต้ย้ายไปสิงคโปร์แทน เหตุไม่พอใจนโยบายด้านภาษียังคงร้อนระอุ สำหรับกระแสข่าวของเหรียญคริปโต Luna Coin
ซึ่งคือหนึ่งในเหรียญของเครือข่ายบล็อกเชนบริษัท Terraform labs เมื่อล่าสุด มีข่าวออกมาว่า Do Kwon เจ้าของ LUNA Coin เลี่ยงภาษีนิติบุคคล และอาจถูกปรับสูงถึง 78.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ท่ามกลางกระแสข่าวว่า ฝ่ายกฎหมายของบริษัทพากันลาออกหนีตายเพียบ ส่วนโดควอนผู้เป็นเจ้าของ กำลังถูกหน่วยสืบสวนของเกาหลีใต้ตั้งกรรมการสอบอย่างหนักถึงเหตุการณ์กราฟราคา Stable Coin UST และเหรียญ LUNA ที่ดิ่งลงอย่างรุนแรง
ตามรายงานข่าวจาก NAVER เว็บไซต์ชื่อดังของเกาหลีใต้ ได้มีการเปิดเผยข้อมูลบางส่วนออกมาว่า กรมสรรพากรของเกาหลีใต้ ได้ตรวจสอบบริษัท Terraform Labs และ Ancore พบว่า บริษัทมีการเลี่ยงภาษีนิติบุคคลและภาษีเงินได้ จนอาจถูกปรับครั้งใหญ่กว่า 1 แสนล้านวอน ทั้งยังมีการรายงานเพิ่มเติมว่า บริษัท Terraform Labs อาจกำลังพยายามที่จะเลิกกิจการในเกาหลีใต้และย้ายไปอยู่ในต่างประเทศ คาดการณ์ว่าเป็นสิงคโปร์ ยิ่งเพิ่มความน่าสงสัยเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการเลี่ยงภาษีของบริษัท
นอกจากนี้ ยังมีการรายงานข่าวอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่น่าสนใจสำหรับเหล่านักลงทุนว่า เมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กรมสรรพากรยังได้ปรับภาษีเงินได้อีกกว่า 4.66 แสนล้านวอนจากบริษัท Terra Virgin ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือของ Terra Singapore โดยเป็นการเก็บภาษีตามนโยบายภายในประเทศเกาหลีใต้ แม้ว่าฐานของบริษัทดังกล่าวจะถูกจัดตั้งขึ้นในประเทศสิงคโปร์ก็ตาม
ทั้งนี้ สื่อเกาหลีใต้ยังคงจับตามองการเคลื่อนไหวของโดควอนต่อไป เพราะนอกจากกรณีของเงินค่าปรับภาษีจำนวนมหาศาลแล้วนั้น ยังมีการนำเสนอเพิ่มเติมว่า
DoKwon พยายามจะออกนอกประเทศ และยกเลิกกิจการบริษัท เมื่อช่วงวันที่ 4 และ 6 ที่ผ่านมา ก่อนจะเกิดเหตุการณ์การล่มสลายของ UST และเหรียญ LUNA Coin โดยคงต้องรอดูกันต่อไปว่า นโยบายคืนชีพให้เหรียญ LUNA เวอร์ชันใหม่ จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เร็ว ๆ นี้
เช็คเลย ประกันสังคม เงินชราภาพ ม.33 เงินบำเหน็จ เงินบำนาญ แบบไหนดี มีคำตอบ
เลือกอย่างไหนดี ประกันสังคม เงินชราภาพ ม.33 เงินบำเหน็จ – เงินบำนาญ เช็ครายละเอียดที่นี่ หลังจาก ครม. ประกาศ อนุมัติ ร่าง พ.ร.บ. ไฟเขียว ประกันสังคม ผู้ประกันตน “ยืม” เงินชราภาพได้แล้ว พร้อมปรับปรุงสิทธิประโยชน์ ให้เลือกเองได้
อัปเดต ข่าว ประกันสังคม ล่าสุด วันนี้ 19 พฤษภาคม 2565 เงินชราภาพ ผู้ประกันตน มาตรา 33 (ม.33) จากกรณีที่ ครม. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ให้มีการปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน เงินชราภาพ 3 ขอ ประกอบด้วย
1. ขอเลือก เงินบำเหน็จ เงินบำนาญ – ซึ่งผู้ประกันตน ม.33 ประกันสัังคม สามารถ “ขอเลือก” ระหว่าง เลือกรับ เงินบำเหน็จ หรือจะเลือกรับ เงินบำนาญ
2. ขอคืน เงินชราภาพ บางส่วน – โดยผู้ประกันตน ม.33 สามารถ “ขอคืน” เงินชราภาพ บางส่วน มาใช้ก่อนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
3. ขอกู้ เงินชราภาพบางส่วน ไปเป็นหลักค้ำประกัน – ผู้ประกันตน มาตรา 33 ประกันสังคม สามารถ “ขอกู้” เงินชราภาพบางส่วนไป เป็นหลักค้ำประกันการกู้เงิน กับธนาคารหรือสถาบันการเงินได้
ดังนั้น ทีมงาน The Thaiger จึงจะมาแนะนำ พร้อมกับตอบข้อสงสัย รายละเอียดของ เงินบำเหน็จชราภาพ และเงินบำนาญชราภาพ ว่าแตกต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดีกว่ากัน สำหรับผู้ประกันตน ม.33 เงินชราภาพ เงินบำเหน็จ ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 สำหรับเงินชราภาพ เงินบำเหน็จ ผู้ประกันตน ม.33 จะได้สิทธิเฉพาะกรณีที่ จะต้องมีอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์ ส่งเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี) และเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ
โดยเงินบำเหน็จชราภาพ จะเป็นการจ่ายเงินก้อนเพียงครั้งเดียว และหากจ่ายสมทบน้อยกว่า 12 เดือน (น้อยกว่า 1 ปี) จะได้รับเงินสมทบจำนวนเท่าที่ผู้ประกันตนจ่าย ได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว ซึ่งระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน จะเริ่มตั้งแต่ 12 – 179 เดือน (1 ปี – 14 ปี) จะได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตน, เงินสมทบนายจ้าง และเงินผลประโยชน์ตอบแทน
รายละเอียดเงื่อนไขของ เงินชราภาพ เงินบำนาญ ผู้ประกันตน ม.33 จะต้องมีมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ขึ้นไป ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
สำหรับเงินบำนาญชราภาพ จะเป็นรูปแบบการจ่าย รายเดือน ตลอดชีพ การคำนวณสิทธิที่จะได้รับ หากจ่ายเงินสมทบ จ่ายสมทบ 180 เดือน (15 ปี) จะคำนวณจาก 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (5ปี) ก่อนที่จะสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน โดยคำนวณจาก ฐานค่าจ้างสูงสุด เริ่มต้น 1,650 บาท และ ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีสูตรการคำนวณเงินชราภาพ เงินบำนาญ กรณีจ่ายสมทบครบ 180 เดือน
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป